...สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยาขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง...

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. การทดสอบ Tourniquet Test

การทำ tourniquet Test จะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ในระยะเริ่มแรกได้เป็นอย่างดี ต้องทำทุกรายที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อแดงกีโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่พอเหมาะ
ในวันที่ 1 +ve 50 %  / ในวันที่ 2 +ve 80 % ในวันที่ 3 +ve 90 %


คลิ๊กเพื่อขยายภาพ

1.ใช้เครื่องวัดความดันโลหิต ขนาด cuff กว้างประมาณ 2/3 ของความยาวต้นแขนส่วนบนพันรัดต้นแขน
2.บีบรัดความดันค่าประมาณกึ่งกลางค่า Systolic และ Diastolic
4. รัดค้างไว้ 5 นาที หลังจากนั้นคลายความดันออก
5. ควรทิ้งไว้ 1 นาทีจึงอ่านผลทดสอบ ถ้าพบจุดเลือดออกใต้ผิวหนังมากกว่า 10 จุด/ตารางนิ้ว ถือว่าให้ผลบวก ให้บันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว การตรวจนี้สามารถให้ผลบวกตั้งแต่วันที่ 2-3 ของไข้
ความไวและความจำเพาะของการตรวจ tourniquet test พบว่า sensitivity ของ tourniquet test อยู่ที่ 53%, 91% และ 99% ของวันที่ 1,2 และ 3 ตามลำดับ และมีความจำเพาะ specipicity อยู่ที่ประมาณ 75% ทั้งนี้ tourniquet test สามารถทำให้เกิดผลบวกปลอม (false positive) ได้เช่นกัน โดยอาจจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตัวอื่น
การตรวจ tourniquet test อาจจะให้ผลลบลวง ได้แก่
  • ผู้ป่วยอยู่ในภาวะช็อกหรือกำลังจะช็อก
  • ผู้ป่วยอ้วนมาก ความดันที่วัดอาจจะไม่กดทับเส้นเลือด เนื่องจากชั้นไขมันหน่ฃามาก
  • ผู้ป่วยผอมมาก ความดันที่วัดไม่กระชับวงแขน

2. Complete Blood Count (CBC)

2.1 White Blood Cell (WBC)
ส่วนใหญ่จะพบเม็ดเลือดขาวปกติหรือต่ำลง ซึ่งเกิดจากภาวะ active hemophagocytosisโดยระยะ 1-3 วันแรกจะพบว่า lymphocyte ต่ำลง ทำให้เกิดภาวะ relative neutrophilia และ absolute lymphopenia แต่หลังจากนี้เม็ดเลือดขาวชนิด granulocyte จะต่ำลงในช่วงวันที่ 3-8 จะพบภาวะ relative lymphocytosis และ absolute neutropenia และจะพบ atypical lymphocyte ประมาณร้อยละ 15-35%

รูปแสดง Atyphical Lymphocyte


2.2 Hematocite(Hct) และ Hemoglobin(Hb)
ค่า Hct มักสูงเกินกว่า 40% บางรายอาจพบสูงถึง 50-60% ส่วนค่า Hb จะพบว่าสูงมากกว่า 14 g/dl ซึ่งค่า Hb และ Hct ที่สูงขึ้นเกิดจากการรั่วของพลาสม่า การตรวจ Hct เป็นระยะสามารถเฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยได้
2.3 Platelet
ผู้ป่วยจะมีเกล็ดเลือดต่ำลงประมาณวันที่ 3 โดยส่วนใหญ่จะต่ำกว่า 100,000/cu.mm เกล็ดเลือดจะสูงขึ้นหลังจากวันที่ 7 ไปแล้ว และจะเข้าสู่ภาวะปกติในวันที่ 9-10 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำลงคือ
  • มีการกดไขกระดูก ทำให้เซลล์ในไขกระดูกมีจำนวนน้อยและการเจริญเติบโตหยุดอยู่ชั่วขณะ (maturation arrest) ที่สำคัญคือ มี maturation arrest ของ megakaryocyte
  • ในไขกระดูกมีการสร้าง small lymphocyte,monocyte, reticulum cell และ histocyte เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเซลล์เหล่านี้มีการจับกิน platelet มากขึ้น
  • ระบบ Immune complex ที่เกิดขึ้นอย่างมากในผู้ป่วย DHF อาจทำให้ platelet มีการ absorb เอา antibody ไว้ผนังของ platelet ไว้มาก ซึ่งทำให้ platelet ถูกจับกินโดยตับและม้าม

3. การตรวจ chemistry

3.1 Albumin ในกระแสเลือดมีปริมาณลดลง เนื่องมาจากมีการรั่วของพลาสม่า ในรายที่รุนแรงจะมีค่า albumin ต่ำมาก อัตราส่วน A:G (albumin:globulin) น้อยกว่า 1
3.2 SGOT,SGPT สูงขึ้น และจะสูงมากในรายที่รายแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก anoxia และมีการทำลายเซลล์ตับ
3.3 ALP, GGT และ Bilirubin ปกติ
3.4 Electrolyte พบว่ามีภาวะ Hyponatremia คือ มีระดับ sodium(Na+) และ chloride(Cl-) ต่ำ และจะมีความรุนแรงอย่างมากในภาวะช็อค ซึ่งมีสาเหตุมาจาก มีการอาเจียน เหงื่อออกมาก และเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังพบว่ามีระดับ ของ CO2 ในกระแสเลือดต่ำลงมาก

4. การตรวจหา Antibody ต่อเชื้อ Dengue Virus

4.1 Primary infection ในการติดเชื้อครั้งแรกร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อไวรัส โดยพบ
  • IgM จะถูกสร้างประมาณวันที่ 5 หลังจากมีอาการ และสูงนานประมาณ 1-3 สัปดาห์ บางครั้งอาจจะอยู่ได้นานถึง 60 วัน
  • IgG จะตรวจพบประมาณวันที่ 14 และจะอยู่นานตลอดชีวิต
4.2 Secondary infection
  • IgM จะถูกสร้างหลังจากติดเชื้อประมาณ 20 วัน จะพบในปริมาณต่ำ หรือบางครั้งไม่สามารถวัดได้ หรืมีระยะเวลาที่อยู่ในกระแสเลือดน้อยกว่า primary infection
  • IgG จะสูงขึ้นภายในวันที่ 1-2 หลังจากที่มีอาการและจะพบในปริมาณสูงกว่า primary infection และจะอยู่สูงนาน 30-40 วัน

5. การตรวจ Dengue NS1 antigen 

 Dengue NS1 antigen จะถูกสร้างตั้งแต่วันแรกหลังจากมีอาการไข้และจะสูงนานประมาณ 9 วัน โดยจะพบได้ทั้ง primary และ secondary infection ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ตรวจหาเชื้อ dengue virus ในวันแรกๆ



รูปแสดงการเกิด Immune Response ต่อเชื้อ Dengue Virus

    ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก


    ยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกเป็นแมลงจำพวกหนึ่งที่สำคัญมีอยู่ 2 ชนิด คือ ยุงลาย
    บ้านและ ยุงลายสวน ยุงลายเป็นยุงที่มีขนาดปานกลาง วงจรชีวิตของยุงลายประกอบด้วยระยะต่างๆ 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่, ระยะตัวอ่อนหรือลูกน้ำ, ระยะดักแด้หรือตัวโม่ง, และ ระยะตัวเต็มวัยหรือตัวยุง ทั้ง 4 ระยะมีความแตกต่างกันทั้งรูปร่างลักษณะและการดำรงชีวิตลักษณะสำคัญทั่วไปของยุงลาย คือ

      
    ระยะตัวเต็มวัย (ตัวยุง)
    1. ร่างกายอ่อนนุ่ม เปราะบาง แบ่งเป็น 3 ส่วนแยกออกจากกันเห็นได้ชัดเจนคือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวยาวประมาณ 4-6 มม. มีเกล็ดสีดำสลับขาวตามลำตัวรวมทั้งส่วนหัวและส่วนอกด้วย
    2. มีขา 6 ขาอยู่ที่ส่วนอก ขามีสีดำสลับขาวเป็นปล้องๆ ที่ขาหลังบริเวณปลายปล้องสุดท้ายมีสีขาว ตลอด
    3. มีปีกที่เห็นได้ชัดเจน 2 ปีกอยู่บริเวณส่วนอก ลักษณะของปีกบางใส มีเกล็ดเล็กๆบนเส้นปีก ลักษณะของเกล็ดแคบ ยาว บนขอบหลังของปีกมีเกล็ดเล็กๆเป็นชายครุย นอกจากนี้ที่ส่วนอกยังมีอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ใกล้กับปีก
    4. มีปากยาวมาก ลักษณะปากเป็นแบบแทงดูด
    5. เส้นหนวดประกอบด้วยปล้องสั้นๆ 14-15 ปล้อง ที่รอยต่อระหว่างปล้องมีขนขึ้นอยู่โดยรอบ ใน

    ยุงตัวผู้เส้นขนเหล่านี้ยาวมาก (ใช้รับคลื่นเสียงที่เกิดจากการขยับปีกของยุงตัวเมีย) มองดูคล้ายพู่ขนนก ส่วนในยุงตัวเมียเส้นขนที่รอยต่อระหว่างปล้องจะสั้นกว่าและมีจำนวนน้อยกว่า ลักษณะของหนวดยุงจึงใช้ในการจำแนกเพศของยุงได้ง่าย
      

    ระยะไข่
    ไข่ยุงลายมีลักษณะรีคล้ายกระสวย เมื่อวางออกมาใหม่ๆจะมีสีขาวนวล ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและดำสนิทภายใน 24 ชั่วโมง
    ระยะลูกน้ำไม่มีขา ส่วนอกมีขนาดใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้องยาวเรียวประกอบด้วยปล้อง 10 ปล้อง มีท่อหายใจอยู่บนปล้องที่ 8 และมีกลุ่มขน 1 กลุ่มอยู่บนท่อหายใจนั้น
    ระยะตัวโม่ง
    ไม่มีขา มีอวัยวะสำหรับหายใจอยู่บนด้านหลัง (บริเวณที่เป็นส่วนหัวรวมกับส่วนอก)

    ป้องกันตนเองจากยุงลาย

    เมื่อโดนยุงลายจู่โจมเข้าให้แล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องทำ คือ หาวิธีต่าง ๆ ที่จะป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
    ซึ่งทำได้หลายวิธี
    1. ควรกรุหน้าต่าง ประตู และช่องมด้วยมุ้งลวดตรวจตราซ่อมแซมฝาบ้าน ฝ้าเพดาน อย่าให้มีร่อง ช่องโหว่หรือรอยแตก เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงลายเข้ามาในบ้าน 
    2. เวลาเข้า - ออกควรใช้ผ้าปัดประตูมุ้งลาดก่อน เพื่อไล่ยุงลายที่อาจจะเกาะอยู่ตามที่ต่าง ๆ
    3. เก็บของในบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ เพราะยุงลายชองไปหลบซ่อนตามมุมมืดของห้องและเครื่องเรือนต่าง ๆ ที่รก ๆ 
    4. ขณะอยู่ในบ้านควรอยู่ในบริเวณที่มีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างเพียงพอ 
    5. ยุงลายจะชอบกัดตอนกลางวัน และมักเป็นช่วงที่คนหลับ ดังนั้นเวลาหลับควรกางมุ้งหรือนอนในห้องที่มีมุ้งลวด เปิดพัดลมส่ายเบา ๆ ก็ช่วยไล่ยุงได้หรือถ้าหากที่บ้านมียุงมากจริง ๆ ก็ต้องพิถีพิถันในการเลือกเสื้อผ้าสวมใส่สักหน่อย ซึ่งควรใส่กางเกงขายาว เสื้อมีแขน เพื่อให้เหลือพื้นที่เปล่าเปลือยและเสี่ยงต่อการถูกยุงกัดน้อยที่สุด 
    6. ใช้ยากันยุง ซึ่งมีวางขายอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น.>>>>
    • ยากันยุงชนิดขด ชนิดแผ่น ชนิดน้ำ ซึ่งต้องใช้ความร้อนช่วยในการระเหยสารออกฤทธิ์ ตอนนี้ใน ท้องตลาดมีวางขายอยู่หลากหลายยี่ห้อมาก 
    • ยากันยุงชนิดใช้ทาผิว ซึ่งมีทั้งชนิดครีม โลชั่น แป้งสารออกฤทธิ์หลักในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้มีทั้งที่เป็น 
    • สารเคมีจำพวก Deet และสารสกัดจากพืช การใช้ผลิตภัณฑ์กลุ่มทาผิวที่มี deet เป็นสารออกฤทธิ์หลักนี้ ก่อนซื้อต้องพิจารณาว่ามีสารออกฤทธิ์ มากน้อยเพียงใด ผู้ใหญ่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี deet อยู่ระหว่าง 15-20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเด็กไม่ควรเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ และต้องใช้ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ข้างกล่องอย่างเคร่งครัด ห้ามใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ห้ามทาบริเวณตา (บางยี่ห้อก็ห้ามทาบริเวณผิวหน้า) ผิวที่มีรอยถลอกหรือมีแผลไม่ควรทาซ้ำในช่วงเวลาสั้น ๆ (ส่วนใหญ่ทางครั้งหนึ่งจะกันยุงได้ประมาณ 3-4 ชั่วโมง) ไม่ควรใช้ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ไม่ควรใช้กับแม่ตั้งครรถ์และผู้สูงอายุ นอกจากนี้ไม่ควรทายากันยุงที่มือเด็กเพราะเด็กอาจเผลอขยี้ตาหรือหยิบจับอาหารใส่ปาก ซึ่งจะทำให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย 
    หลังทายากันยุงแล้วพบว่ามีอาการแพ้ เช่น เป็นผื่น ผิวแดง หรือรู้สึกร้อน ต้องหยุดใช้ทันที ล้างผิว บริเวณที่ทาด้วยน้ำกับสบู่ แล้วรีบไปพบแพทย์พร้อมนำยากันยุงที่ใช้นั้นไปด้วยเพราะ deet อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ หากใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี deet ผสมอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก (เกิน 30 เปอร์เซ็นต์) และใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ deet จะเป็นอันตรายหากกินเข้าไป บางรายอาจมีอาการทางสมอง ชัก และเสียชีวิตได้ การสูดดมไอระเหยของ deet เป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการวิงเวียน เพราะเหตุนี้จึงมีผู้ผลิตยากันยุงปลอด deet โดยใช้สารอื่น ๆ โดยเฉพาะสารที่สกัดได้จากพืช ที่แม้จะไม่ประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้ดีเท่ากับ deet แต่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้มากกว่า เช่น ตะไคร้หอม ยูคาลิปตัส กระเทียม และมะกรูด ฯลฯ ซึ่งตอนนี้ก็หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด
    • ยาฉีดไล่ยุงชนิดกระป๋อง ที่มีวางขายนั้นมีทั้งแบบที่เป็นกระป๋องทรงกระบอกอัดน้ำยาเคมีสำหรับฉีด พ่นได้ทันทีเมื่อใช้หมดแล้วไม่สามารถเติมน้ำยาเคมีใหม่ได้ และแบบที่เป็นกระป๋องสี่เหลี่ยม ซึ่งต้องเติมน้ำยาเคมีลงในกระบอกฉีดและผู้ใช้ต้องสูบฉีดน้ำยาในขณะพ่นด้วยตัวเอง เมื่อน้ำยาเคมีหมดก็สามารถเติมน้ำยาใหม่ได้ ปัจจุบันสารเคมีกำจัดยุงมีทั้งชนิดสูตรน้ำมันและชนิดสูตรน้ำ ซึ่งชนิดสูตรน้ำจะปลอดภัยต่อคนและ สิ่งแวดล้อมมากกว่า รวมทั้งไม่ทำให้บ้านเรือนเปรอะเปื้อนด้วย 
    • กำจัดยุงด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้า มีทั้งชนิดที่เป็นกับดักไฟฟ้า ใช้ไฟบ้าน 220 โวลต์ โดยหลักการคือใช้แสง ไฟล่อให้ยุงบินเข้าไปหากับดัก เมื่อยุงบินไปถูกซี่กรงที่มีไฟฟ้าจะถูกไฟฟ้าช็อตตาย 
    • กำจัดยุงไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ มีรูปร่างคล้ายไม้เทนนิสแต่แทนที่จะเป็นเส้นเอ็นก็เป็นซี่ลวด ซึ่งเมื่อ เปิดสวิตช์ก็จะมีกระแสไฟฟ้าผ่าน ผู้ใช้ต้องโบกให้ซี่ลวดถูกตัวยุง ยุงจะถูกไฟช็อตตาย อย่างไรก็ตาม การกำจัดยุงลายเปรียบเหมือนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูง กว่าการลดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

    การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด

    • ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ของยุงลาย เช่น ฝาโอ่ง โอ่งน้ำ ล้างโอ่งทุก 10 วัน ที่รองขาตู้ กระถาง ยางรถยนต์ กระป๋อง กะลา แจกัน จานรองตู้กับข้าวควรใส่น้ำเดือดลงไปทุก 10 วัน หรือใช้เกลือแกงใส่จานรองขาตู้ 2 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แก้ว
    • วิธีที่สะดวกอีกแบบคือ ใส่ ทรายอะเบต (abate) ชนิด 1% ลงในตุ่มน้ำ และภาชนะ ในอัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 100 ลิตร ควรเติมใหม่ทุก 2-3 เดือน น้ำที่ใส่ทรายอะเบตสามารถใช้และดื่มกินได้อย่างปลอดภัย
    • ให้เด็กนอนกางมุ้งเวลากลางวัน และในชุมชนเมื่อเข้าหน้าฝน หรือมีการระบาด ควรแจ้งอนามัยเพื่อมาจัดการทำลายแหล่งเพาะพันธ์หรือฉีดยากำจัดยุง