...สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยาขอต้อนรับทุกท่านด้วยความยินดียิ่ง...
รายงานการวิเคราะห์ผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

.........................................................................

          ในการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา มีขั้นตอน ระเบียบวิธีการดำเนินงานด้านการพัสดุ สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้ายการพัสดุ พ.ศ.2560 ตามขอบเขตอำนาจที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

1.งบลงทุน

1.1กระบวนการจัดทำแผน การจัดทำงบลงทุน
    1.1.1.ขั้นตอนการปฏิบัติ
  • หน่วยงานมีการสำรวจความต้องการตามความจำเป็น
  • กลุ่มงานบริหารรวบรวมเสนอสาธารณสุขอำเภอเห็นชอบและเสนอผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา (CUP) เพื่อพิจารณา
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพะเยา (CUP)เสนอแผนการจัดทำงบลงทุน ต่อ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และเขตบริการสุขภาพ
     1.1.2.การประเมินผลการควบคุม
  • การจัดทำแผนการจัดทำงบลงทุนได้มีการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุทุกขั้นตอน
  • ระดับจังหวัด/เขต แจ้งให้หน่วยบริการไม่ชัดเจน ขอเร่งด่วน ทำให้เกิดการล่าช้า
     1.1.3.ความเสี่ยงที่มีอยู่
  • การจัดทำแผนช้าไม่ทันเวลา ต้องรีบเร่ง มีผลความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด และไม่ครอบคลุมต่อความต้องการของหน่วยงาน
1.2. สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
     ในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา ไม่ได้รับจัดสรร งบประมาณ งบลงทุน

1.3 ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัด
  • การแจ้งการจัดทำแผนแจ้งให้หน่วยบริการไม่ชัดเจน ขอเร่งด่วน ทำให้เกิดการล่าช้า
  • ความต้องการวัสดุ ครุภัณฑ์ ของ รพ.สต. หน่วยงานสังกัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา ส่วนใหญ่เป็นวัสดุ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีราคาต่ำ ไม่เข้าหลักเกณฑ์การพิจารณา
1.4. แนวทางแก้ไข และการพัฒนาในปีงบประมาณ 2562
  • นำเสนอ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอเมืองพะเยา (คปสอ.) เกี่ยวกับปัญหาการแจ้งการจัดทำแผนแจ้งให้หน่วยบริการไม่ชัดเจน ล่าช้า ให้ผู้บริการได้รับทราบ และนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงต่อไป 
  • เสนอแผนความต้องการที่มีความจำเป็น ของ รพสต./สอ.น. ในวาระประชุม คปสอ. เพื่อขอจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อจัดจ้าง กับ ของ รพสต./สสอ. หน่วยงานสังกัด สสอ. ในปีงบประมาณ 2562 
2.งบดำเนินงาน
2.1. กระบวนการจัดทำแผน การจัดทำงบดำเนินงาน (งบผลผลิต)
        2.1.1.ขั้นตอนการปฏิบัติ
  • หน่วยงานมีการสำรวจความต้องการตามความจำเป็น 
  • สาธารณสุขอำเภอเสนอแผนการจัดทำงบดำเนินงาน ต่อ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด
        2.1.2.การประเมินผลการควบคุม
  • การจัดทำแผนการจัดทำงบลงทุนได้มีการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุทุกขั้นตอน 
  • ระดับจังหวัด แจ้งให้หน่วยบริการไม่ชัดเจน ขอเร่งด่วน ทำให้เกิดการล่าช้า
        2.1.3.ความเสี่ยงที่มีอยู่
  • การจัดทำแผนช้าไม่ทันเวลา ต้องรีบเร่ง มีผลความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด และไม่ครอบคลุมต่อความต้องการของหน่วยงาน

3. สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
          ในปีงบประมาณ 2561 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา ได้รับงบประมาณจัดสรร จำนวน 329,820 บาท โดยแบ่งเป็น 2 รอบจัดสรร ครั้งและ 164,910 บาท โดยแยกเป็นหมวดการใช้จ่ายดังนี้
  1. ค่าวัสดุสำนักงาน จำนวน 32,000.-บาท 
  2. ค่าวัสดุเชื้อเพลิงและหล่อลื่น จำนวน 62,000.-บาท 
  3. ค่าบำรุงรักษาครุภัณฑ์ จำนวน 56,720.-บาท 
  4. ค่าใช้สอยและวัสดุ จำนวน 57,600.-บาท 
  5. ค่าสาธารณูปโภค จำนวน 60,000.-บาท 
  6. ค่าเดินทางไปราชการ จำนวน 30,000.-บาท 
  7. ค่าตอบแทนนอกเวลา จำนวน 31,500.-บาท
1.ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการจัดซื้อจัดจ้าง
  • การแจ้งการจัดสรรงบประมาณของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา มีความล่าช้าทำให้การจัดเตรียมทำแผนงาน/โครงการ งบดำเนินงาน (งบผลผลิต) เกิดความล่าช้า ส่งผลให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเกิดความล่าช้าไปด้วย 
  • การจัดหาพัสดุในเรื่องการจัดซื้อ ยังพบปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานอยู่เสมอและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กัน เนื่องจากเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่ซับซ้อน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลาย คณะ หลายบุคคล รวมทั้งมีกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก ทั้งปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตัวของเจ้าหน้าที่ และปัญหาที่เกิดจากกฎหมาย ระเบียบ ที่ยากต่อการเข้าใจ
2.การประหยัดงบประมาณ
  • มีการดำเนินการโดยคิดถึงความประหยัด ความคุ้มทุน เนื่องจากอำเภอเมืองพะเยา เป็นอำเภอขนาดใหญ่ ในจังหวัดพะเยา รับผิดชอบ 172 หมู่บ้าน ต้องใช้ทรัพยากรในการเข้ามาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
3.ความสี่ยงของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
  • ไม่มีการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ
4. แนวทางแก้ไข และการพัฒนาในปีงบประมาณ 2562
  • จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างให้ครอบคลุมทุกหมวดการใช้จ่ายจริง 
  • นำเสนอปัญหาในการจัดสรรงบประมาณที่ล่าช้า ต่อที่ประชุมคณะกรรมการวางแผนและประเมินผลงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา (กวป.พะเยา) เกี่ยวกับปัญหาการการแจ้งการจัดทำแผนแจ้งให้หน่วยบริการไม่ชัดเจน ล่าช้า ให้ผู้บริการได้รับทราบ และนำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูงต่อไป
  • การปฏิบัติงานจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของส่วนราชการสิ่งสำคัญที่สุดในลำดับแรก คือ การวางแผนการจัดหา ซึ่งหมายถึงการรวบรวมความต้องการใช้พัสดุ วางแผนเตรียมการจัดหาพัสดุให้ทันกับความต้องการของหน่วยงาน แต่ทั้งนี้การจัดหาพัสดุต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ และต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ ดังนี้
  1. ความคุ้มค่า โดยพัสดุที่จัดซื้อจัดจ้างต้องมีคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งานของส่วนราชการมากที่สุด มีราคาที่เหมาะสม
  2. ความโปร่งใส โดยการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและการบริหารพัสดุต้องกระทำโดยเปิดเผย เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม มีหลักฐานการดำเนินงานชัดเจน และมีการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุในทุกขั้นตอน
  3. มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยต้องมีการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุล่วงหน้าเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินและเปิดเผยผลสัมฤทธิ์ของการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ทุกปี
  4. ตรวจสอบได้ โดยมีการเก็บข้อมูลดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา ได้นำผลการวิเคราะห์ไปปรับปรุงแก้ไขตามตัวชี้วัด 
: ให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันเวลาตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข

ทำให้เป็นรูปธรรม
(DO NOW)
เพื่อปิด gap
ทำต่อไปให้เกิดการเปลี่ยนแปลง          (DO NEXT)
เพื่อพัฒนาต่อยอดจากจุดแข็ง
ทำให้ต่อเนื่องให้ไปสู่ประชาชน (DO LONG)
ทำให้เกิดระบบที่ยั่งยืน
(DO SUSTRAIN)
อธิบาย :มาจากจุดอ่อน
มาจากจุดแข็งทำต่อยอด
ทำแล้วสำเร็จ
ผลักดันให้ยั่งยืน
1. จัดระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่างเจ้าของโครงการและงานการเงิน
มีระบบรายงานผลการเบิกจ่ายเสนอที่ประชุมเป็นประจำทุกเดือน
มีการวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำแนวทางเพื่อพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง
ทบทวนและจัดทำแนวทางเพื่อให้สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่างเจ้าของโครงการและงานการเงิน

มาตรการที่ 1 
จัดระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่างเจ้าของโครงการและงานการเงิน


หน่วยงาน
กิจกรรมต้นน้ำ  
(Up Steam)
กิจกรรมกลางน้ำ
(Main Stream)
กิจกรรมปลายน้ำ (Down Stream)
สสอ.เมืองพะเยา
ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขั้นตอนในการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการเบิกจ่าย
ติดตามกำกับงาน /
กลุ่มงาน / หน่วยบริการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพะเยา
สรุปผลการเบิกจ่ายให้งานการเงิน เพื่อใช้ไปข้อมูลในการตรวจสอบการ เบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอต่อที่ประชุมอย่างสม่ำเสมอ (ทุกเดือน,ปี)และสรุปปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาในปีต่อไป

มาตรการ (ทำให้เป็นรูปธรรม DO NOW)
small success
ผู้รับผิดชอบ
3
เดือน
6
เดือน
9
เดือน
12เดือน
จัดระบบตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณระหว่างเจ้าของโครงการและงานการเงินเพื่อให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามเป้าหมาย





-          การประชุม อบรม
50%




-          การจัดซื้อจัดจ้าง
30%
22%
21%
23%
งานการเงิน

แบบฟอร์ม แผนพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข5 ปี

ยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข 4. Governance Excellence 
(บริหารจัดการเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล) (4 แผนงาน 12 โครงการ)
ตัวชี้วัด: มีการเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันเวลาตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข
มาตรการ
กิจกรรมหลัก
เกณฑ์/เป้าหมาย
ปี 61
ปี 62
ปี 63
ปี 64
ปี 65
 หน่วยงานทุกแห่งมีการเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันตามนโยบาย
 สรุปและนำเสนอผลการเบิกจ่ายงบประมาณให้หน่วยบริการรับทราบ
ทุกเดือน
12
12
12
12
12



                                                                 
นางรัตนาพร ธนะจักร
พนักงานธุรการ
ผู้จัดทำรายงาน



นายสุขุม กันธิวงศ์
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
ผู้จัดทำรายงาน
---------------------------------------------------------------------------------